หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาใน Phase 3 ของการใช้ Inhaled Migrane Therapy

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,534 ครั้ง
 
ข้อมูลจากการศึกษาใน Phase 3 ของการใช้ dihydroergotamine แบบสูดพ่นทางปาก (Lavadex) ในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนพบว่าช่วยบรรเทาอาการปวด ลดความไวต่อแสงและเสียง และลดคลื่นไส้ได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากยาสามารถออกฤทธิ์ภายในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงและยังคงฤทธิ์ต่อไปอีกหลายชั่วโมง

โดยมีการศึกษาแบบ randomized, double-blind ในผู้ป่วยจำนวน 792 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 65 ปี พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ Lavadex สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ใน 30 นาทีหลังจากได้รับยา ฤทธิ์ของยาอยู่ได้นาน 2 ถึง 48 ชั่วโมง นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ Lavadex มีการบรรเทาของอาการปวดร้อยละ 58.7 ในขณะกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีการบรรเทาของอาการปวดร้อยละ 34.5 สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา Lavadex ร้อยละ 52.9 ปราศจากอาการไวต่อเสียง และร้อยละ 46.6 ปราศจากอาการไวต่อแสง เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเท่ากับร้อยละ 33.8 และ 27.2 ตามลำดับ และร้อยละ 67.1 ของกลุ่มที่ได้รับ Lavadex ไม่มีอาการคลื่นไส้ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่มีอาการนี้ร้อยละ 58.7 นอกจากนี้ไม่พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง

สำหรับยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการหลั่งและการจับกับตัวรับของสารสื่อประสาทที่เป็นต้นเหตุของการเกิดปวดศีรษะไมเกรน แต่เนื่องจากมีฤทธิ์ลดการหดตัวของหลอดเลือดจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่มีประวัติที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิด stroke หรือมีปัญหาทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้