หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Hormone Therapy and Risk for Ovarian Cancer

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน กรกฎาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,383 ครั้ง
 
จาก observational study หลายชิ้น พบว่าการได้รับ hormone therapy มีผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน JAMA เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นการทำการศึกษาไปข้างหน้าโดยติดตามผู้หญิง 900,000 คน (ช่วงอายุ 50-79 ปี) ที่มีรังไข่อย่างน้อยหนึ่งข้าง และ ไม่เป็นมะเร็งชนิดที่ไวต่อฮอร์โมนเพศ

ระหว่างการติดตามผลเป็นระยะเวลา 8 ปี มีผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น มะเร็งที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ (epithelial ovarian cancer) จำนวน 2,681 ราย จากการวิเคราะห์ที่ปรับปัจจัยทางด้านประชากรและการมีเพศสัมพันธ์แล้ว พบว่า ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่เพิ่มขึ้นถึง 44 % ในกลุ่มประชากรที่กำลังได้รับ hormone therapy อยู่ และเพิ่มขึ้น 15% ในกลุ่มที่เคยได้รับ hormone therapy มาก่อน โดยความเสี่ยงจะลดลงหลังจากการหยุด hormone therapy ไปแล้ว 2 ปี และจากผลการวิเคราะห์ ไม่พบความแตกต่างของความเสี่ยงระหว่างการใช้ estrogen เดี่ยวๆ และ combined estrogen-progesterone อีกทั้งยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการใช้กับความเสี่ยง ความเสี่ยงจากการใช้ฮอร์โมนแบบต่อเนื่องและแบบเป็นรอบไม่ต่างกัน เช่นเดียวกับความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ฮอร์โมน progesterone คนละตัว กลุ่มที่ใช้ estrogen ชนิดแผ่นแปะจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 13% และ ในกลุ่มที่ใช้ estrogen ชนิดสอดช่องคลอดจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 23% แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับการได้รับ estrogen ชนิดรับประทาน โดย absolute risk คือ เกิดมะเร็งรังไข่ 1 คน จากคนที่ใช้ hormone therapy 8,300 คน

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้