หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

A New Agent for Postmenopausal Osteoporosis

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน สิงหาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 4,544 ครั้ง
 
ภาวะกระดูกพรุนเป็นผลมาจากการสลายตัวของกระดูกโดย osteoclast ซึ่งขึ้นกับ cytokine ชื่อ receptor activator of nuclear factor- B ligand (RANKL) Denosumab เป็น human monoclonal antibody ที่ต่อต้าน RANKL ซึ่งส่งผลยับยั้งการทำลายกระดูกของ osteoclast ในที่สุด จากการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัทผู้ผลิตยาดังกล่าว ทำในผู้หญิง 7,868 คน (อายุเฉลี่ย72 ปี ค่าเฉลี่ย BMD T-score ของกระดูกสันหลัง คือ -2.8 และ total BMD T-score ของกระดูกสะโพก คือ -1.9) โดยสุ่มให้ยา denosumab 60 mg หรือ placebo (Control) ใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 เดือน เป็นเวลา 3 ปี

ผลการศึกษาที่ได้ คือ เมื่อคำนวณ relative risk จะพบว่ากลุ่มที่ได้ denosumab มีความเสี่ยงต่อการเกิด vertebral fracture น้อยกว่ากลุ่ม control 68% (36-month incidence, 2.3% vs. 7.2%; P<0.001) ความเสี่ยงต่อการเกิด hip fracture น้อยกว่ากลุ่ม control 40% (0.7% vs. 1.2%; P=0.04) และความเสี่ยงต่อการเกิด nonvertebral fractures น้อยกว่ากลุ่ม control 20% (6.5% vs. 8.0%; P=0.01) อุบัติการณ์รวมของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์, มะเร็ง, โรคหลอดเลือดหัวใจ และการติดเชื้อฉวยโอกาสของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แม้ว่าการเกิด cellulitis ของทั้งสองกลุ่มจะเท่ากัน แต่ประชากรกลุ่มที่ได้รับ denosumab ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 12 คน ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีเพียง 1 คนเท่านั้น

** ยา denosumab ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา**

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้