หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ Fluticasone propionate/salmeterol ในกรณี exercise-induced asthma ในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะ pe

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน เมษายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,964 ครั้ง
 
การออกกำลังกายเป็นตัวกระตุ้นการกำเริบของอาการหอบหืดในเด็กที่มีภาวะหอบหืด และการใช้ยาสเตียรอยด์แบบสูดพ่นจะมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการกำเริบได้ มีการศึกษาเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ fluticasone propionate/salmeterol ขนาด 100/50 ไมโครกรัม เทียบกับ fluticasone propionate 100 ไมโครกรัม ในการป้องกันการเกิดการกำเริบของอาการหอบที่เกิดจากการออกกำลังกายในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะหอบหืด

โดยการศึกษานี้เป็นแบบ multicenter, randomized, double-blind, parallel group ในผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 248 คน (อายุ 4-17 ปี) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยทำการสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับ fluticasone propionate/salmeterol ขนาด 100/50 ไมโครกรัม วันละ 2 ครั้ง กลุ่มที่สองได้รับ fluticasone propionate 100 ไมโครกรัม วันละ 2 ครั้ง และทำ exercise challenge test ในระหว่างการคัดเลือกผู้ป่วย และหลังจากผู้ป่วยได้รับยาพ่นแล้วเป็นเวลา 8 ชั่วโมงในวันที่ 28 ของการศึกษา เมื่อทำการวัดค่าการลดลงของ FEV1 พบว่าผู้ป่วยที่ในกลุ่มแรกมีค่า FEV1 ที่ลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในกลุ่มที่สอง (9.5 +/- 0.8% [mean +/-SE] เทียบกับ 12.7 +/- 1.1%, p=0.021) ดังนั้นการใช้ fluticasone propionate/salmeterol ให้ผลในการป้องกันการกำเริบของอาการหอบที่เกิดจากการออกกำลังกายดีกว่าการใช้ fluticasone propionate ในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะหอบหืด

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้