หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Topical Tretinoin Gel Improved Acne in Preadolescents: Study

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,729 ครั้ง
 
ข้อมูลจากการศึกษาขนาดเล็กที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตที่ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของ 0.04% tretinoin รูปแบบเจลในการรักษาสิวในเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนวัยรุ่น (อายุระหว่าง 8-12 ปี) แบบ open-label ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 0.04% tretinoin รูปแบบเจลให้ผลดีในการรักษาสิวและผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี

แม้ว่าสิวจะเป็นปัญหาหลักในเด็กวัยรุ่น แต่ในเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนวัยรุ่นจำนวนมากกลับพบปัญหาการเป็นสิวด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่ร่างกายของเด็กมีการหลั่งฮอร์โมนเพศชายออกมามาก (adrenarche) ในช่วงแรกของวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นการรักษาสิวตั้งแต่ระยะแรกๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นจากสิวและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของเด็กวัยนี้ได้ดี

Dr. Lawrence Eichenfield และคณะของโรงพยาบาลเด็กใน San Diego ได้นำเด็ก 40 คน (เป็นผู้หญิง 33 คน) ที่มีปัญหาสิวระดับความรุนแรงน้อย – ปานกลาง มาทำการศึกษา โดยอายุเฉลี่ยของเด็ก (mean age) คือ 10.7 ปี และค่ากลางของอายุเด็ก (median age) คือ 11 ปี การศึกษาทำโดยให้ผู้ทดลองทา 0.04% tretinoin รูปแบบเจล ในปริมาณยาเท่ากับการกดยาจากภาชนะบรรจุ 2 ครั้ง (pumpful) วันละ 1 ครั้ง โดยไม่ทำการรักษาด้วยวิธีอื่นเลย เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ามีเด็ก 36 คนที่อยู่จนจบการศึกษา มี 33 จาก 36 ของผู้ทดลอง มีปัญหาด้านสิวลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Evaluator\’s Global Severity Score) เมื่อเริ่มทดลองมีค่าเท่ากับ 2.6 (คะแนน 0-5 คะแนน 0 คือ ไม่มีปัญหา) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ การประเมินแบบ ITT (intent-to-treat) ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Evaluator\’s Global Severity Score) เท่ากับ 2.1 (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยทางเลือกของคะแนนประเมินความรุนแรงของสิว (The mean Alternative Evaluator\’s Global Severity score) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 3.1 เป็น 2.4 (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยของรอยแผล (non-inflammation inflammation และ total lesions) ลดลง 37.3% มีผู้ทดลอง 15 คน พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษา โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3 สัปดาห์แรกของการรักษา และมีอาการน้อยกว่า 1 สัปดาห์ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหมายรวมถึง การระคายเคืองทางผิวหนัง (skin irritation) การอักเสบภายหลัง (postinflammatory) การเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี (pigment change)และการสัมผัสแสงแดด (sunburn)

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้